วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ไฮดรา (Hydrs)




  ไฮดรา (Hydrs)


       ไฮดรา (Hydrs) เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิต อย่างง่าย ๆ ตามคูน้ำ หรือสระน้ำ ซึ่งมีระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เหมือนมนุษย์หรือสัตว์ทั่ว ๆ ไป เราจัดไฮดราให้อยู่ในจำพวกเดียวกับแมงกะพรุนแต่มีขนาด ตัวเล็กกว่าแมงกะพรุนมาก โดยเฉพาะลำตัวไฮดราจะใสจึงยากแก่การสังเกตแต่อย่างไรก็ตาม ไฮดราก็ยังมีขนาดโตพอที่คุณหนูจะสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ถ้ามองดูภายนอกจะเห็นลำตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอกสูง ปลายด้าน หนึ่ง ประกอบด้วยหนวดเส้นเล็กล้อมรอบปาก โดยไฮดราจะใช้หนวดมัดอาหารเข้าทางช่อง ปากเพื่อเข้าในช่องว่างภายในลำตัว อาหารของไฮดราที่โปรดปรานมากที่สุด ก็คือ ไรน้ำ (Daphia) หรือลูกไร (Cyclops) นอกจากหนวดของไฮดราจะทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่ และจับอาหารแล้ว บริเวณหนวดของไฮดรามีบางเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเข็มพิษ เมื่อไฮดรา ต้องการล่าเหยื่อ หรือทำลายศัตรูก็จะใช้หนวดปกป้องตัวเอง โดยใช้หนวดรัดและปล่อยเข็ม พิษออกมา แต่คุณหนู ๆ ไม่ต้องกลัว ! เพราะเข็มพิษของไฮดรา ไม่ทำให้มนุษย์เกิดการเจ็บ ปวดแต่อย่างไร


ลำตัวของไฮดราถ้ามองดูภายนอก บางครั้งจะพบปุ่มเล็ก ๆ ยื่นยาวออกมาข้างลำตัว เรียกกันทั่วไปว่า หน่อ (Bud) หน่อเหล่านี้สามารถหลุดออกมาเจริญเป็นตัวไฮดราใหม่ได้ เรียกการสืบพันธุ์วิธีนี้ว่าการแตกหน่อ (Budding) แต่ไฮดราก็มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (testis) ซึ่งเป็นปุ่มเล็ก ๆ อยู่ตอนบนของลำตัว และมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (Ovary) ซึ่งเป็นปุ่ม เล็ก ๆ อยู่ตอนล่าง ไว้สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้อีกด้วย
ลำตัวของไฮดราจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายๆ เซลล์ จัดเรียงเป็นเนื้อเยื่อ 2ชั้น ชั้นนอกสุด (ectoderm) จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ในเรื่องการรับสัมผัส ส่วน เนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) จะมีเซลล์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยสลายอาหาร

ไฮดราเคลื่อนที่ตลกมาก โดยการหกตัวกลับไปมาคล้ายการตีลังกา เนื่องจากลำตัวของมันอ่อนมาก เวลาเคลื่อนที่ไฮดราจะใช้ด้านฐาน (basal end) เกาะติดกับพื้นที่ที่มันเกาะ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ในน้ำหรืออ่างแก้วที่เพาะเลี้ยง ต่อจากนั้นมันก็จะโอนตัวพร้อมกับใช้หนวดซึ่งอยู่รอบปาก เกาะพื้นที่อีกด้านหนึ่งแล้วคลายตัวด้านฐานดูคล้าย ๆ กับใช้ปากยึดพื้น ทำเช่นนี้ เรื่อยไป ไฮดราก็จะเคลื่อนที่ไปได้ 

ที่มา
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/hydra/hydra2.htm

วันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2556

2 ความคิดเห็น: