วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ปลวก วัฏจักรชีวิตบนกองดิน

               
ปลวก  วัฏจักรชีวิตบนกองดิน



         แทบทุกครั้งที่ออกเดินศึกษาธรรมชาติในป่า เรามักพบเห็นจอมปลวกขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจายอยู่ทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าปลวกมีวงจรชีวิตเช่นใดภายในกองดินอันแข็งแกว่ง



         จอมปลวก หรือ รังของปลวก ถือเป็นอาณาจักรของแมลงที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากที่สุดรังปลวกบางพันธุ์ในทวีปแอฟริกามีความสูงเหนือพื้นดินถึง ๖ เมตร มีอุโมงค์เชื่อมต่อใต้ดินครอบคลุมพื้นที่มากกว่า ๕ ไร่ และมีปลวกอาศัยอยู่รวมกันประมาณ ๕ ล้านตัว รังของปลวกที่มีลักษณะเป็นกองดินขนาดใหญ่ในบ้านเรามักเป็นปลวกในสกุล Macrotemes ความที่ปลวก (Termite) มีรูปร่างคล้ายมดและมีสีค่อนข้างขวาซีด จึงมีชื่อเรียกบางชื่อว่า White ant ทั้งที่จริง ๆ แล้วปลวกจัดอยู่ในอันดับ Isopthera ส่วนมด ผึ้ง ต่อ แตน นั้นจัดอยู่ในอันดับ Hyminoptera เพราะปลวกมีส่วนท้องกว้างกว่าอก ซึ่งผิดกับมดที่ส่วนท้องตอนที่ติดกับอกคอดกิ่ว ปัจจุบันทั่วโลกค้นพบชนิดของปลวกแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ชนิด 200 สกุล ส่วนในประเทศไทยเองพบว่ามีปลวกอยู่นับร้อยชนิด
ปลวกแต่ละชนิดต่างมีกลวิธีและรูปแบบในการสร้างรังไม่เหมือน แต่ไม่ว่าจะมีขนาดมหึมาราวหอคอยหรือเล็กเพียงแค่เนินดิน ปลวกจำนวนมากมายในแต่ละรังจะแบ่งออกได้เป็น 3 วรรณะคือ ปลวกงาน ผู้คอยวิ่งวุ่นทำงานทุกอย่างภายในรัง เริ่มตั้งแต่ตอนก่อสร้างจอมปลวก ซ่อมแซมรังถ้ามีการสึกหรอ ดูแลรักษาไข่ของนางพญาไปจนถึงการหาอาหารมาเลี้ยงดูปลวกในวรรณะอื่น ถัดมาคือ ปลวกทหาร ซึ่งมีรูปร่างทะมัดทะแมงมีส่วนหัวและกรามใหญ่โตกว่าส่วนอื่น เพื่อใช้เป็นอาวุธในการออกรบ ปลวกทหารจะเป็นผู้ต้อนรับด่านแรกหากมีผู้บุกรุกเข้ามาภายในจอมปลวก และปลวกในวรรณะสุดท้ายได้แก่ ปลวกสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นพวกเดียวที่มีโอกาสเจริญเติบโตจนสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ และเชื่อไหมว่าภายในจอมปลวกหนึ่ง ๆ ซึ่งมีปลวกนับหมื่นนับแสนตัวล้วนถือกำเนิดมาจากพญาปลวกเพียงตัวเดียว ส่วนนางพญาปลวกเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ต้องไล่ค้นไปถึงวงจรชีวิตของปลวกอันเริ่มต้นจากการจับคู่ของมวลหมู่แมลงเม่า



         แมลงเม่า (alates) คือปลวกในวรรณะสืบพันธุ์ที่โตเต็มที่โดยมีปีกยาวเลยลำตัวออกมา เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ปลวกหนุ่มสาวที่มีปีกภายในจอมปลวกจะพากันบินออกมาจากรังมารวมหมู่เพื่อเลือกคู่ครอง พอจับคู่กันได้หนึ่งต่อหนึ่ง ก็ชักชวนกันไปหาทำเลอันเหมาะสม จัดการสลัดปีกทิ้งผสมพันธุ์กันแล้วมุดลงสู่พื้นดิน หลังจากนั้นแมลงเม่าสองตัวก็จะกลายสภาพเป็นราชาและราชินีปลวก รานิชีเริ่มต้นขบวนการวางไข่อย่างต่อเนื่องทันทีหลังการผสมพันธุ์ โดยมีราชาคอยผสมพันธุ์ โดยมีราชาคอยผสมพันธุ์ให้เป็นระยะ ๆ นับจากนี้เธอจะกลายเป็นนางพญาปลวก คอยทำหน้าที่วางไข่สร้างประชากรไปตลอดชั่วชีวิต เมื่อเวลาผ่านไปรูปร่างของนางพญาจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คือ ส่วนท้องจะขยายใหญ่ขึ้นตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนไข่ที่ต้องวางเพิ่ม เมื่ออายุ 10 ปี ขึ้นไปรูปร่างของนางพญาจะมองดูคล้ายหนอนยักษ์ตัวอ้วนพองที่เคลื่อนที่ไปไหนไม่ได้อีกต่อไป ประมาณกันว่านางพญาปลวกสามารถวางไข่ได้ 14 ฟอง ในทุก 3 วินาที ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนเธอจึงมีลูกจำนวนมหาศาล ประชากรปลวกรุ่นใหม่เหล่านี้เองที่ช่วยกันสร้างอาณาจักรใหม่อย่างแข็งขัน
การสร้างจอมปลวกเริ่มขึ้นโดยเหล่าปลวกงานจะช่วยกันกัดดินและขนดินมาทีละก้อน แล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมติด พวกมันค่อย ๆ สร้างผนังจอมปลวกแน่นหนาขึ้นทีละน้อยอย่างอดทน โดยมีปลวกทหารคอยทำหน้าที่อารักขาความปลอดภัยให้ ศัตรูสำคัญของปลวกทหารคือมดพันธุ์ต่าง ๆ ที่ชอบเข้ามารุกรานถึงภายในจอมปลวก เมื่อปราศจากการรบกวนปลวกงานจะสร้างห้องหับต่าง ๆ อย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่ตำหนักของนางพญาที่จะต้องแข็งแกร่งเป็นพิเศษและซ่อนอยู่มิดชิดที่สุดภายในรัง แล้วจึงสร้างห้องเก็บรักษาไข่เพื่อบ่มฟักตัวอ่อน ซึ่งมันจะต้องขนไข่ออกจากตำหนักของนางพญามาจัดเก็บให้เป็นระเบียบอยู่เสมอเสร็จจากนั้นปลวกงานส่วนหนึ่งทำการขุดช่องระบายอากาศเพื่อให้ภายในจอมปลวกเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งขุดอุโมงค์ใต้ดินสู่ภายนอกเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการออกไปหาเสบียงอันได้แก่เศษไม้เป็นหลัก ความจริงปลวกไม่สามารถย่อยไม้ได้เองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นโปรโตซัวซึ่งอาศัยอยู่ในกระเพาะของมันต่างหากที่ช่วยย่อยเซลลูโลสให้กลายเป็นสารอาหาร ปลวกงานจะนำเชื้อราที่ได้จากการย่อยมาสร้างเป็นสวนเห็ดขึ้นภายในจอมปลวกเพื่อลดภาระในการออกตระเวนหาอาหารจะเห็นว่าปลวกงานมีหน้าที่หนักที่สุดในบรรดาปลวกทั้ง 3 วรรณะ ปลวกงาน จึงมีประชากรมากที่สุด ทั้งนี้นางพญาจะมีฮอร์โมนสังคม (Social Hormone) ควบคุมการวางไข่ให้อัตราส่วนประชากรในวรรณะต่าง ๆ ได้สมดุลอยู่ตลอดเวลา
เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่ทางนางพญาจะผลิตปลวกในวรรณะสืบพันธุ์ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง พอถึงฤดูผสมพันธุ์ปลวกจำนวนนี้จะกลายเป็นแมลงเม่าบินอำลาจากจอมปลวกอันเก่าเพื่อเริ่มต้นจับคู่และสร้างอาณาจักรของมันเองขึ้นมาอีกครั้ง
ปลวกมีบทบาทสำคัญในการช่วยย่อยสลายไม้ เศษไม้ และวัตถุอื่น ๆ เพื่อนำแร่ธาตุหมุนเวียนกลับสู่ระบบนิเวศ และเมื่อแปลงร่างเป็นแมลงเม่าก็ยังเป็นอาหารทรงคุณค่าทั้งต่อนกและสัตว์ต่าง ๆ ภายในกองดินหนาทึบมีโลกเล็ก ๆ ที่กำลังทำหน้าที่ของเผ่าพันธุ์อย่าง

ที่มา
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/anatomy/bug.htm
วันที่ 1 กุมภาพันธุ 2556

2 ความคิดเห็น: